การหาจังหวะเข้าซื้อโดยใช้ RSIโดยส่วนตัวจะดูอยู่ 3-4 อย่าง เพื่อหาจังหวะเล่นทางซื้อ
1.
จะดู SET ราคาล่าสุด กับเส้นค่าเฉลี่ย 5 วันและเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน
(*ผมใช้เส้นค่าเฉลี่ยแบบ EMA) โดยเฉพาะเส้น 5 วัน จะดูเป็นหลักก่อนเส้น 10
วันครับ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่สังคมการเทรด Forexกราฟทางเทคนิคก็เป็นสัญญาณขายอย่างชัดเจน
โดยส่วนตัวจะดูอยู่ 3-4 อย่าง เพื่อหาจังหวะเล่นทางซื้อ
1. จะดู SET ราคาล่าสุด กับเส้นค่าเฉลี่ย 5 วันและเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน (*ผมใช้เส้นค่าเฉลี่ยแบบ EMA) โดยเฉพาะเส้น 5 วัน จะดูเป็นหลักก่อนเส้น 10 วันครับ
โดย nature ของเส้นค่าเฉลี่ยแล้ว มันจะวิ่งตามราคาหุ้นเสมอ หากหุ้นขึ้น เส้นค่าเฉลี่ยก็จะวิ่งขึ้นด้วย หากหุ้นลง เส้นค่าเฉลี่ยก็จะวิ่งลงตามด้วย
และเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ก็จะวิ่งติดตามราคาหุ้นได้เร็วกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว ดังนั้น การใช้เส้นค่าเฉลี่ย 5 หรือแม้แต่ 10 วัน ก็ยังถือว่าเป็นเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นครับ ซึ่งทั้งคู่ก็จะวิ่งติดตามราคาหุ้นได้อย่างใกล้ชิดกว่าเส้นอื่นๆ เช่น เส้น 25 75 200 วัน เป็นต้น
พอเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นมันวิ่งติดตามราคา หุ้นอย่างใกล้ชิด แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ราคาหุ้นวิ่งฉีกตัวหนีจากเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นมาก เกินไป ไม่ว่าจะเป็นขาขึ้นหรือขาลงก็ตาม ท้ายที่สุด มันจะเกิดการปรับตัวเข้ามาวิ่งใกล้ชิดกันอีกครั้งครับ อันนี้ถือว่าเป็นกฎเลยนะครับ เป็นของตายตัว
อย่างตอนนี้ SET ลงเอาๆๆ แบบนี้ ก็น่าจะคาดการณ์ได้ว่า ตัว SET ได้วิ่งฉีกหนีจากเส้น 5 กับ 10 วันลงมาด้านล่าง และหากมันห่างกันมากไป เช่น ห่างกันมากเกิน 20 จุด แบบนี้ ก็น่าจะรอลุ้นการ rebound เพื่อหวังให้ SET และเส้น 5 กับ 10 วัน ได้ปรับตัวเข้าหากันอีกครั้งนะครับ
2. ดูระดับ indicator ว่ามัน oversold และพร้อมจะงอหัวขึ้นมาหรือยัง?
ช่วง นี้ ผมก็จะหันมาดู RSI เป็น indicator ตัวเดียวล้วนๆครับ (แต่ก่อนเคยใช้ MACD, SLOW STO. ด้วย) แต่มาคิดดู ใช้ RSI ไปเลยตัวเดียวดีกว่า เพราะ nature ของ indicator มันจะคล้ายๆกัน หากเป็นซื้อก็จะซื้อเหมือนกัน หากเป็นขายก็จะขายเหมือนกัน ส่วนความต่างคือ indicator ตัวไหนจะให้สัญญาณซื้อขายที่เร็วกว่าตัวอื่น อย่าง MACD ตัวนี้ ช้าหน่อย แต่ใครๆก็บอกว่าช้าแต่ชัวร์ แต่โดยส่วนตัวชอบ RSI เพราะมีลูกเล่นที่เยอะกว่า
ผมก็รวบรวมลูกเล่นของ RSI มาได้ดังนี้
# RSI ปลายชี้ขึ้นหรือชี้ลง บอกความแข็งแรงหรืออ่อนแอของหุ้นได้
หากหุ้นเป็นบวก >>> ปลายของ RSI จะชี้ขึ้น >>> หุ้นมีความแข็งแรง
หากหุ้นเป็นลบ >>> ปลาย RSI จะชี้ลง >>> หุ้นมีความอ่อนแอ
* นอกจากปลายของ RSI จะชี้ขึ้นหรือลงแล้ว RSI ยังวิ่งขึ้นลง ตามความเข้มข้นของแรงบวกหรือลบของหุ้น หากหุ้นบวกแรง RSI จะวิ่งขึ้นแรงด้วย และหากหุ้นลบมาก RSI จะวิ่งลงแรงด้วย
*หากหุ้นปิดตัวเท่าเดิม >>> RSI จะเริ่มชี้ตัวออกไปด้านข้าง และวิ่งออกไปด้านข้างด้วย >>> Sideways ตามทิศทางของหุ้น
2. RSI & Signal Line (สัญญาณซื้อขาย)
โดย ทั่วไป RSI จะมีเพียงเส้นเดียวโดดๆ ไม่เหมือนอย่าง MACD หรือ Slow Sto. ที่มีเส้น Signal Line มาให้ใช้งานคู่กันเลย ดังนั้น เราจึงเพิ่มเส้น Signal Line (EMA 9) เข้ามาเป็นสัญญาณซื้อขายให้กับเครื่องมือชนิดนี้
หาก RSI ตัดเส้น Signal Line ขึ้นมาได้ ก็จะถือว่าให้สัญญาณซื้อ และหาก RSI ตัดเส้น Signal Line ลงไป ก็จะถือว่าให้สัญญาณขายออกมา
3. RSI & Overbought vs Oversold (สภาวะที่หุ้นมีการซื้อมากเกินไป และขายมากเกินไป)
RSI จะมีลักษณะที่เหมือนกับ Slow Sto. ก็คือ จะมีกรอบให้แกว่งตัวระหว่าง 0-100% แต่เราจะ focus ไปที่สองบริเวณที่มีนัยยะสำคัญ ดังนี้
หาก RSI ให้ค่าตัวเลขในเขตโซน 0-30% แบบนี้ จะเรียกว่า อยู่ในสภาวะที่มีการขายหุ้นมากเกินไปหรือ Oversold และหาก RSI ให้ค่าตัวเลขในเขตโซน 70-100% แบบนี้ ก็จะเรียกว่า อยู่ในสภาวะที่มีซื้อมากเกินไปหรือ Overbought
ดังนั้น การเข้าซื้อหุ้นที่ดี ควรจะพิจารณาซื้อเมื่อ RSI อยู่ในเขต Oversold และตรงจังหวะที่ RSI กำลังจะตัดเส้น Signal Line ขึ้นมาด้วยครับ เพราะถือว่าช่วงนั้น กำลังมีแรงซื้อเข้ามาแล้ว
และการขายหุ้นที่ดี ก็ควรจะพิจารณาขาย เมื่อ RSI อยู่ในเขต Overbought และตรงจังหวะที่ RSI กำลังจะตัดเส้น Signal Line ลงมาด้วย เพราะถือว่าช่วงนั้น แรงขายมีนัยยะสำคัญมากกว่าแรงซื้อ
4. RSI & Divergence
การเกิด Bullish Divergence หรือ Positive Divergence ช่วงที่หุ้นราคาต่ำๆ และ RSI อยู่ในเขตด้านล่าง
และเราก็จะเห็น Bearish Divergence หรือ Negative Divergence ช่วงที่หุ้นราคาแพงๆ และ RSI อยู่ในเขตด้านบน
การ เกิดสัญญาณ Divergence จะเป็นสัญญาณที่มีความน่าเชื่อถือที่สูงมากครับ หากเกิดขึ้นแล้ว ก็มีแนวโน้มที่หุ้นจะเปลี่ยนทิศทางหรือเปลี่ยนTrendได้เลย
5. RSI & Formation
เรา สามารถนำเอารูปแบบการก่อตัว (Formation) หรือรูปแบบ Price Patterns ของหุ้นมาใช้ในการวิเคราะห์ RSI ได้เช่นกันครับ ตัวอย่างรูปแบบที่มักจะเจอบ่อย เช่น Double Tops, Double Bottoms, Triple Tops, Triple Bottoms, Ascending Triangle, Descending Triangle นอกจากนี้ อาจจะเจอรูปแบบ Head and Shoulder ได้ด้วย สำหรับสัญญาณการซื้อขายก็ใช้จุดให้พิจารณาซื้อหรือขายตามรูปแบบเหล่านี้ได้ เลยครับ
6. RSI & Support vs Resistance line (เส้นแนวรับ แนวต้าน)
เรา สามารถนำเอาแนวทางการลากเส้น Support Line และเส้น Resistance Line มาใช้งานคู่กับการแกว่งตัวของ RSI ได้ด้วยครับ และหาก RSI สามารทะลุ (Break) เส้นแนวรับแนวต้าน ก็จะเป็นจุดให้พิจารณาซื้อหรือขายตามด้วยครับ
บทความที่น่าสนใจ
แนวคิดดีมากครับ อยากให้ช่วยแชร์ประสบการณืให้ด้วยครับเป็นเทรดเดอร์ใหม่
ตอบลบ