วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2567

การบริหารความเสี่ยงในการลงทุน Forex

       ความเสี่ยงเป็นปัจจัยหนึ่งในการเทรด Forex  ทุกคนมุ่งหวังที่จะได้กำไร แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันความสูญเสียที่อาจจะ เกิดขึ้นจาการเทรด Forex  การบริหารความเสี่ยงมีหลายวิธีที่สามารถทำได้
 ยินดีต้อนรับเข้าสู่สังคมการเทรด Forex




       ความเสี่ยงเป็นปัจจัยหนึ่งในการเทรด Forex  ทุกคนมุ่งหวังที่จะได้กำไร แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันความสูญเสียที่อาจจะ เกิดขึ้นจาการเทรด Forex  การบริหารความเสี่ยงมีหลายวิธีที่สามารถทำได้
มาดู 4 วิธีหลัก ๆ ในการจำกัดความเสี่ยงกันครับ

1. กำหนดจุดขาดทุน เเละหากเห็นว่าตลาดเป็นเทรนก็ควร Let Profit Run เพื่อทำกำไร
2. บริหารเงินของคุณ – ลงทุนแค่บางส่วนของเงินทุน
3. เทรดตามเทรน(Trend)
4. ทำตามแผนการลงทุนของเราเอง – ไม่ปล่อยให้อารมณ์เข้ามาควบคุม

       การบริหารความเสี่ยงคือสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการควบคุมความเสี่ยงที่เกิด ขึ้นในพอร์ตของเรา ถ้าหากเราเปิดออเดอร์แต่ละครั้งสูงมากเกินไปโดยไม่ได้คำนวนว่าถ้าหากกราฟ วิ่งสวนทิศทางที่เราคาดการณ์ไว้ เราควรจะทำอย่างไร จะแก้ไขมันอย่างไร เพราะทุกๆครั้งที่เราเปิดออเดอร์ ย่อมหมายถึงว่าจะเกิดความเสี่ยงทุกครั้ง บางครั้งอาจจะส่งผลให้เราถูกล้างพอร์ตไปเลยก็ได้ เราจึงต้องว่าแผนไว้ว่าถ้าหากกราฟวิ่งสวนทิศทางกับที่คาดการณ์ไว้ จะทำยังไง การเปิดออเดอร์เทียบกับทุนของเราที่มีอยู่จึงมีส่วนสำคัญต่อการเทรด ถ้าเปิดน้อย โอกาสที่จะเสียก็มีน้อย ถ้าเปิดมากโอกาสที่เราจะเสียก็มีมาก เราจึงต้องมาคำนวนวิธีการหาความเสี่ยงกัน


       วิธีการคำนวนความเสี่ยงในการเปิดออเดอร์
สมมุติว่าเรามีทุนที่ 1,000 เหรียญ ถ้าเราจะเปิดออเดอร์ที่ 10% เราจะต้องเปิดจำนวน Volume ที่เท่าไร สูตรในการคำนวนนั้นคือ 1000/10,000 จะได้เท่ากับ 0.1 lot โดยให้ 10,000 นั้นเป็นกรอบการวิ่งของเทรดของเรา เพื่อให้เราไม่ผิดพลาดได้โดยง่าย เช่น ถ้าเราเปิดออเดอร์ทิ้งไว้ที่ 0.1 lot จะถูกล้างพอร์ตที่ 10,000 จุด แต่ถ้าสมมุติว่าเราเทรดที่ความเสี่ยง 50% โอกาสที่เราจะพลาดได้ก็อยู่ที่ 2,000 จุด แต่ถ้าหากเราคาดการณ์ถูก การเปิดที่ความเสี่ยงสูงขึ้นจะทำให้โอกาสที่เราจะได้กำไรกลับมาก็มีสูงเช่น กัน แต่บางครั้งเราอาจจะสับสน แล้วใช้ค่า Leverage มาเทียบกับความเสี่ยงของเราด้วย

       ค่า Leverage คืออะไร
สำหรับค่า Leverage นั้นคือ การยืมเงินจากโบรกเกอร์มาช่วยเราในการเทรด ซึ่งมีส่วนในการช่วยเราลดต้นทุนในการเทรดนั้น ยิ่งค่า leverage มีสูงมาก เราก็ยิ่งเทรดได้มากขึ้น ถึงแม้เงินทุนของเราจะมีเท่าเดิมก็ตาม
สมมุติว่า ถ้าเรามีค่า leverage อยู่ที่ 1:100 แล้วเราเทรดครั้งละ 1 lot เราจะต้องมี Margin ถึง 1,000 เหรียญ จึงจะสามารถเปิดออเดอร์ได้ ซึ่งเปรียบเสมือนกับว่าเราเปิดออเดอร์ด้วยเงิน 100,000 เหรียญ เพราะหน่วย unit ของ 1 lot มีค่าเท่ากับ 100,000 unit ค่า leverage จึงเป็นการช่วยลดทุนของเราให้น้อยลง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าค่า leverage ของเรา เท่ากับ 1:200 แล้วค่า Margin จะเป็นเท่าไรในขณะที่เราเทรดด้วยจำนวน 1 lot เท่าเดิม เราก็คิดโดยการเอา 100,000/200 ก็จะเท่ากับ 500 เหรียญ แต่ถ้าเป็น 1:500 ล่ะ ก็จะได้เท่ากับ 200 เหรียญ นั้นก็หมายความว่ายิ่ง leverage มีค่าสูงมากเท่าไร เราก็สามารถเปิดออเดอร์ได้เพิ่มขึ้นเท่านั้น
Free Margin คือค่าที่เหลืออยู่ ถ้าเหลือ 0 เราจะไม่สามารถเปิดออเดอร์ได้อีก บางครั้งเราอาจจะสับสน หรือเข้าใจผิดโดยมองค่า Free Margin มาเทียบกับทุน คิดเป็นความเสี่ยง ซึ่งหากเรามองไม่ดีแล้วเปิดออเดอร์เพิ่มขึ้น ก็อาจจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้แก่ตนเองได้ สมมุติว่า ถ้าหากเราเทรดจำนวน 1 lot ด้วยทุน 1,000 ด้วยค่า leverage ที่ 1:500 แล้วเห็นว่าค่า Free Margin เหลือตั้ง 800 เหรียญ เราอาจจะนึกว่าความเสี่ยงนั้นอยู่ที่ 20% แต่ที่จริงแล้ว ความเสี่ยงของเราอยู่ที่ 100%  เต็ม มันก็หมายถึงโอกาสที่เราจะพลาดได้ก็มีแค่ 1,000 จุดเท่านั้น เมื่อพอเราเห็นว่าค่าความเสี่ยงอยู่ 20 % เรายังสามารถเปิดออเดอร์เข้าไปได้อีก ความเสี่ยงของเราก็เพิ่มขึ้นไปอีกเช่นกัน นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่เราถูกล้างพอร์ตได้ง่ายๆ เราจึงไม่ควรสับสนระหว่างค่าความเสียงกับค่า Free Margin นั้นๆ
      
      วิธีการเปิดออเดอร์ในตลาด Forex ให้เหมาะสมกับทุนที่มีอยู่
สำหรับการเปิดออเดอร์แต่ละครั้งนั้นมักจะไม่เหมือนกัน แล้วแต่ความมั่นใจของแต่ละคน ซึ่งวิธีนี้อาจจะพอเป็นแนวทางในการเทรดให้แก่ท่านได้

       แบบที่ 1 เปิดแบบจำนวน lot เท่าเดิมตลอด สมมุติว่าเรามีเงินทุนอยู่ 1,000 เหรียญ เราควรจะเทรดที่ความเสี่ยงแค่ 40% เท่านั้น นั่นก็คือ 0.4 lot แต่เราไม่ควรเปิด 0.4 lot ในคราวเดียว เพราะกราฟนั้นสามารถเป็นไปได้ทั้งขึ้นและทั้งลงตลอดเวลา เราควรจะแบ่ง 0.4 lot นั้นออกเป็น 5 ออเดอร์ นั้นก็คือ ออเดอร์ละ 0.8 lot ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเปิดออเดอร์ Buy ในราคา 1.3000 แล้วกราฟขึ้นไปถึง 1.3030 ก็ให้เราเปิดออเดอร์อีกออเดอร์หนึ่งในจำนวน 0.8 lot และถ้าขึ้นไปอีกก็ให้เปิดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบ 5 ออเดอร์ หรือไม่ก็เก็บอีก 2 ออเดอร์ไว้ก่อน เผื่อจะเจอสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเราจะได้ใช้ 2 ออเดอร์นั้นให้เป็นประโยชน์ แต่ถ้าหากเป็นกราฟลง เราก็ยังไม่ต้องเปิดออเดอร์เพิ่มให้รอไปก่อน จนกว่าจะถึงแนวรับแล้วค่อยเปิดออเดอร์ Buy เพราะโอกาสที่ราคาจะกลับมายังเป็นไปได้อยู่

      แบบที่ 2 เพิ่มจำนวน lot มากขึ้นเรื่อยๆ วิธีแบบนี้เราต้องระวัง ถ้าหากเราเปิดมากเกินไปอาจจะเสี่ยงมากขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเปิดออเดอร์ ที่ 0.01 lot ในตอนแรก เราก็ควรเปิดออเดอร์ที่สอง ด้วยจำนวน 0.02 lot, 0.03 lot ในออเดอร์ถัดไป เน้นจำนวน lot น้อยๆ เปิดออเดอร์จำนวนมากๆ ถ้าเปิดแบบนี้ อาจเปิดได้ถึง 10-12 ออเดอร์ ไม่ว่าทิศทางกราฟจะเป็นแบบใหน เราก็สามารถเปิดแบบนี้ได้ เช่น ถ้าเรา Buy ไว้ เมื่อกราฟขึ้น ก็ให้เปิดเพิ่มขึ้น หรือเมื่อกราฟลงก็ให้เปิด เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเราควรมองระยะของการวิ่งของกราฟด้วย ว่าจะให้กราฟวิ่งได้ไกลแค่ใหน อาจจะคาดการณ์ไว้ที่ 1000 จุด หรือ 2,000 เป็นต้น

 บทความที่น่าสนใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น