วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ความรู้ก่อนการเริ่มต้นลงทุนในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Forex)

ตลาด Forex ทำงานอย่างไรเรามาเริ่มต้นกันว่าตลาด Forex ทำงานอย่างไรถ้าคุณเคยไปเที่ยวต่างประเทศ สิ่งแรกที่คุณจะต้องทำคือคุณจะต้องมองหาสำนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่าง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่สังคมการเทรด Forex

ตลาด Forex ทำงานอย่างไร

เรามาเริ่มต้นกันว่าตลาด Forex ทำงานอย่างไร
ถ้าคุณเคยไปเที่ยวต่างประเทศ สิ่งแรกที่คุณจะต้องทำคือคุณจะต้องมองหาสำนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่าง ประเทศที่สนามบินเพื่อทำการแลกเปลี่ยนเงินในกระเป๋าสตางค์ของคุณเป็นสกุล เงินท้องถิ่น
ก่อนที่คุณจะบินกลับ ถ้าคุณตรวจสอบอัตราค่าเงินที่ธนาคาร คุณจะเห็นอัตราแลกปลี่ยนได้มีการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเงินนี้จะสามารถทำให้คุณลงทุนในตลาด Forex ได้

ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ - Forex หรือ FX – เป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถ้าเราเปรียบเทียบ 74 พันล้านเหรียญสหรัฐ ต่อวัน ของปริมาณการซื้อขายของตลาดหุ้นนิวยอร์ค (NYSE) กับ ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศด้วยปริมาณการซื้อขายมากกว่า 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อวัน คุณจะเห็นถึงความมหึมาของตลาด Forex

ซื้อขายอะไรได้บ้างในตลาด Forex

ง่ายๆเลยก็คือ เงิน คิดง่ายๆว่าการซื้อขายสกุลเงินเหมือนกับการซื้อขายหุ้นของทั้งประเทศหรือ เหมือนกับการที่คุณซื้อขายหุ้นของบริษัทต่างๆ อัตราคู่สกุลเงินจะขึ้นหรือลงนั้นขึ้นอยู่กับการประเมินสถานภาพทางเศรษฐกิจ ของประเทศในปัจจุบันและอนาคต
ถ้าคุณซื้อเงินเยนของญี่ปุ่นก็เหมือนกับว่าคุณได้ซื้อ "หุ้น" ของประเทศญี่ปุ่น คุณได้เดิมพันกับสถานภาพทางเศรษฐกิจและการเติบโตของประเทศญี่ปุ่น

การซื้อขายคู่สกุลเงินนั้นเหมือนกับการเปรียบเทียบสมรรถภาพทางเศรษฐกิจของสองประเทศ

ชนิดของคู่สกุลเงินในตลาด Forex

ในตลาดการเงินมีสกุลเงินมากมายให้คุณเลือก แต่เฉพาะคู่สกุลเงินดังต่อไปนี้ที่มีปริมาณการซื้อขายมากในตลาด Forex  และคู่สกุลเงินเหล่านี้ มักจะถูกเรียกว่า “คู่สกุลเงินหลัก”
●  USD – ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 70% ของปริมาณการซื้อขายทั้งหมด)
●  EUR – ยูโร
●  GBP – ปอนด์สเตอร์ลิง
●  JPY – เงินเยนของญี่ปุ่น
●  CHF – ฟรังก์ สวิส
●  CAD – ดอลลาร์แคนาดา
●  AUD – ดอลลาร์ออสเตรเลีย
สิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่งในตลาด Forex คือ คู่สกุลเงิน บ่อยครั้งที่คุณเห็นอัตราแลกเปลี่ยนที่แสดงในรูปแบบต่อไปนี้:
EUR / USD = 1.3050 หรือ USDJPY = 94.5
เนื่องจากค่าสกุลเงินส่วนใหญ่จะถูกประเมินเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นคู่สกุลเงินหลักในตลาด Forex จะถูกเข้าคู่กับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการแลกเปลี่ยนเงินมีสามประเภท คือ: อัตราแลกเปลี่ยนทางตรง (Direct quote ),อัตราแลกเปลี่ยน ทางอ้อม (Indirect quote) และ อัตราการแลกเปลี่ยนข้ามสกุล (Cross rate)
อัตราแลกเปลี่ยนทางตรง (Direct quote )  หมายถึง การซื้อเงินสกุลต่างประเทศ 1 หน่วย ต้องใช้เงินในประเทศกี่หน่วย
ตัวอย่างเช่น  USD / CHF = 0.9800 หมายความว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ สามารถแลก 0.98 ฟรังก์ สวิส
ในทางกลับกัน อัตราแลกเปลี่ยน ทางอ้อม (Indirect quote)  หมายถึง  เงินสกุลในประเทศ 1 หน่วย ซื้อเงินต่างประเทศได้กี่หน่วย
ตัวอย่าง เช่น  AUD/USD = 1.0300 หมายความว่า 1 ดอลลาร์ออสเตรเลีย สามารถซื้อ 1.03 ดอลล่าร์สหรัฐ
และท้ายสุด อัตราการแลกเปลี่ยนข้ามสกุล (Cross rate) หมายถึง การหาอัตราแลกเปลี่ยนของเงิน 2 สกุล โดยมีเงินสกุลที่ 3 เป็นตัวกลาง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ดอลลาร์สหรัฐเป็นตัวกลาง

ตัวอย่าง เช่น คุณสามารถหาค่าเงินของ EUR/JPY จาก EUR/USD  X  USD/JPY คุณไม่ต้องกังวลใจเกี่ยวกับการคำนวณนี้เพราะ ระบบแพลตฟอร์มจะเป็นคนคำนวณค่านี้ให้กับคุณเอง

การซื้อและการขายคู่สกุลเงิน

การซื้อขายสกุลเงินในตลาด Forex นั้นจะทำกันเป็นคู่ๆ (ตัวอย่าง เช่น GBP/USD หรือ USD/JPY) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ การซื้อเงินสกุลหนึ่ง ในขณะเดียวกัน ก็ขายอีกสกุลหนึ่งออกไป ตัวอย่างของคู่สกุลเงินระหว่างปอนด์สเตอร์ลิงกับดอลลาร์สหรัฐ คือ
GBP/USD = 1.51258
เงินสกุลเงินตัวแรก เรียกว่า ค่าเงินหลัก (Base Currency) ซึ่งในตัวอย่าง คือ เงินปอนด์สเตอร์ลิง และค่าเงินตัวที่สองของคู่เงินใดๆ เรียกว่า ค่าเงินอ้างอิง (Quote Currency)
การเทรดคู่สกุลเงินนั้นเป็นการคาดการณ์ว่าค่าสกุลเงินไหนจะแข็งค่ามากกว่ากัน หรือว่าเศรษฐกิจของประเทศไหนดีกว่ากัน
ถ้าคุณต้องการซื้อ ค่าเงินหลัก (Base Currency) ในกรณีนี้คือ GBP หมายความว่า คุณต้องการให้ค่าเงินหลักมีมูลค่ามากขึ้น การซื้อ เรียกว่า Long ในเวลาเดียวกันคุณได้ทำการขาย ค่าเงินอ้างอิง
จากตัวอย่าง หมายความว่า คุณซื้อเงิน 1 ปอนด์สเตอร์ลิง ด้วยเงิน 1.51258 ดอลลาร์สหรัฐ คุณจะได้กำไรก็ต่อเมื่อค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงแข็งค่าแข่งกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และคุณจะขาดทุนเมื่อค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงอ่อนตัวลงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
ถ้าคุณต้องการซื้อค่าเงินอ้างอิง (Quote Currency) ในกรณีนี้ คือ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และ ขาย ค่าเงินหลัก (Base Currency) เรียกว่า  Short

จากตัวอย่าง หมายความว่า คุณซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐโดยใช้เงินปอนด์สเตอร์ลิง คุณจะได้กำไรก็ต่อเมื่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นแข่งกับเงินปอนด์สเตอร์ลิง และจะขาดทุนเมื่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิง

โอกาสที่จะทำกำไรโดยใช้บัญชีมาร์จิ้น

การเทรดค่าเงินนั้นปกติแล้วจะต้องเทรดเป็น ลอท (lot)  ขนาดมาตรฐานของ  1 ลอท  คือ 100,000 ยูนิท ของ คู่สกุลเงินหลัก (Base currency) คุณสามารถเทรดเพียงแค่เศษเสี้ยวของขนาดมาตราฐานได้ด้วย คือ 10,000 ยูนิท หรือที่เรียกว่า มินิลอท (mini lot) และหน่วยที่เล็กที่สุดก็คือ 1,000 ยูนิท หรือ ไมโครลอท (micro lot)
การเทรด 1.25 lot มีค่าเท่ากับ 125,000 ยูนิทของคู่สกุลเงินหลัก (Base currency)
คุณไม่พร้อมที่จะลงทุน  10,000 ยูโร ในตลาด Forex ใช่หรือไม่
ไม่ต้องกังวลใจไป คุณจะมีเลเวอเรจ เข้ามาช่วย  คุณสามารถเปิดสถานะ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ และ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยใช้เงินลงทุนในบัญชีของคุณเพียงแค่ 25 ดอลลาร์สหรัฐ  และ 50 ดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ เลเวอเรจสามารถทำให้คุณควบคุมเงินจำนวนมากโดยใช้เงินทุนขนาดเล็ก ทั้งนี้เงินบางส่วนที่คุณใช้เหมือนเป็นหลักประกันเงินกู้ (collateral)ในการเปิดสถานะนั้น เรียกว่า มาร์จิ้น  (Margin)
ตัวอย่าง เช่น
1.  คุณคิดว่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงจะแข็งค่าขึ้นแข่งกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
2.  คุณเปิดสถานะ  1 lot (100,000 ยูนิทของ คู่สกุลเงิน GBP/USD) คุณต้องมีมาร์จิ้น 0.5% เพื่อที่จะเทรด เมื่อคุณซื้อ 1 lot (100,000 ยูนิท) ของคู่ GBP/USD ที่ราคา 1.5 หมายความว่า คุณต้องซื้อ 100,000 ปอนด์สเตอร์ลิง ซึ่งจะมีราคาเท่ากับ 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ (100,000 ยูนิท ของ GBP * 1.5)
3.  ถ้ามาร์จิ้นของคุณ คือ 0.5% ทางโบรกเกอร์ต้องเก็บเงินประกัน  750 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่ออนุญาตให้คุณเปิดสถานะ 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ ได้ ง่ายๆเลยหมายความว่าคุณสามารถควบคุม เงิน 100,000 ปอนด์สเตอร์ลิง โดยใช้เงินฝากของคุณจริงๆเพียงแค่  750 ดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้น
4.  ถ้าค่าเงินขึ้นไปถึงจุดที่คุณต้องการและคุณตัดสินใจที่จะขาย คุณปิดสถานะที่ราคา 1.5050 ดังนั้น คุณก็จะได้กำไรไป 500 ดอลลาร์สหรัฐ
 การกระทำของคุณGBPUSD 
คุณซื้อ 100,000 ปอนด์สเตอร์ลิง  ที่ราคา 1.50000100000-150000
คุณรอสักครู่ คู่สกุลเงิน  GBP/USD แข็งค่าขึ้นไปที่ราคา 1.50500  หลังจากนั้นคุณปิดสถานะ-100000150500
คุณก็จะได้กำไรไป 500 ดอลลาร์สหรัฐ0+500
ตอนที่คุณตัดสินใจปิดสถานะ เงินมาร์จิ้นก็จะกลับเข้าไปในบัญชีของคุณ

แนวคิดที่สำคัญของการวิเคราะห์ทางเทคนิค
แนวรับ(Support Level)เป็นเส้นแนวนอนที่มีแนวโน้มที่จะ เป็น “เส้นแรงหนุน” ของราคาที่กำลังตกลง แนวรับหลัก(Major Support)จะเป็นจุดกลับตัวของกราฟ จากแนวโน้มขาลงกลายเป็นขาขึ้นราคาจะกลับตัวออกมาจากเส้นนี้มักจะสร้างโอกาส สำหรับผู้ประกอบการค้ากำไรในการเคลื่อนไหวนี้ กราฟด้านล่างจะเป็นเส้นที่เป็นแรงหนุนหรือเส้นแรงหนุนระดับต่ำสุดของช่วง ราคา
http://lenhune.blogspot.com/2013/08/blog-post.html
ในหลักการเดียวกัน แนวต้านจะเป็นเส้นแนวนอนลากผ่านจุดสูงสุดของช่วงราคา ซึ่งปรากฎตามกราฟด้านบน
http://lenhune.blogspot.com/2013/08/blog-post.html
ถ้าราคาของคู่สกุลเงินที่ทิศทางการเคลื่อนไหวโดยมีแนวโน้มไปในทางใดทางหนึ่ง เราจะเรียกว่า แนวโน้ม (Trend)

การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical analysis) ดัชนีชี้วัด(Indicator) และ ดัชนีการแกว่งตัว (oscillators)

ลองมาดูตัวอย่างของดัชนีชี้วัด(Indicator)ดัชนีการแกว่งตัว (oscillators) ซึ่งใช้ในการซื้อขายในตลาด Forex ตามหลักการวิเคราะห์ทางเทคนิค
คุณสามารถปรับเปลี่ยนดัชนีชี้วัดทั้งหมดให้เหมาะสมกับแนวการซื้อขายของคุณ (โดยการตั้งค่าที่จะคำนวณในระยะเวลาที่คุณต้องการและพารามิเตอร์อื่น ๆ ) คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับดัชนีชี้วัดและ ดัชนีการแกว่งตัว โดยเข้าเรียนในคอร์สของการวิเคราะห์ทางเทคนิคกับฮูเทรดส์
เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Averages)
เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Averages) จะช่วยให้คุณเห็นแนวเส้นของราคาโดยการเฉลี่ยราคาในช่วงระยะเวลาปัจจุบัน ซึ่งอยู่ภายใต้หมวดหมู่ของดัชนีชี้วัดตามโมเมนตัม บางครั้งจะเป็นดัชนีชี้ตาม(Lagging Indicator) แต่ว่าสามารถช่วยให้คุณเห็นแนวโน้มของตลาดได้
การรวมเข้าของสองเส้นเฉลี่ยสามารถช่วยให้คุณวิเคราะห์และเห็นแนวโน้มเริ่มต้นและสิ้นสุด และตัดสินใจว่าตอนไหนจะเป็นเวลาที่ดีที่สุดในการเข้าซื้อ-ขายหรือเป็นเวลาที่ควรจะออกจากตลาด ดูจากกราฟด้านล่าง

กราฟ
http://lenhune.blogspot.com/2013/08/blog-post.html
ในช่วงขาขึ้นหรือตลาดกระทิง การซื้อหรือเปิดสถานะลองเป็นสิ่งที่ควรทำ ในขณะที่ช่วงขาลงหรือตลาดหมี คุณควรขายหรือ เปิดสถานะชอร์ต (Short)
หากคุณใช้ระบบที่ใช้สองเส้นค่าเฉลี่ย (moving average) ในการตัดสินใจ  จุดที่สองเส้นค่าเฉลี่ยตัดกัน จะเป็นจุดที่เกิดสัญญาณซื้อขาย
เมื่อเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ตัดขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวจะเป็นจุดที่เกิดสัญญาณของตลาดกระทิง และเมื่อเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ตัดลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวจะเป็นจุดที่เกิดสัญญาณของตลาดหมี ตามที่เห็นได้จากบนกราฟ
ดัชนีการแกว่งตัว (Oscillators)

นอกเหนือจากดัชนีชี้วัดนำ (leading indicators) ยังมีดัชนีชี้วัดอีกประเภทหนึ่งซึ่งก็คือ ดัชนีชี้วัดตาม(laggingindicators) อย่างเช่น ดัชนีการแกว่งตัว ดัชนีชี้วัดนี้สามารถใช้คาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต และใช้ได้ดีกับตลาดไซด์เวย์ซึ่งไม่มีเทรนด์ขึ้นลงที่ชัดเจน หนึ่งในดัชนีการแกว่งตัวซึ่งเป็นที่นิยมก็คือ ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (Relative Strength Index หรือ RSI)ทางเราแนะนำให้ใช้ RSI ซึ่งมีการคำนวณโดยใช้ระยะเวลา 14 วัน ส่วนระยะเวลา 9 วัน และ 25 วัน ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน
http://lenhune.blogspot.com/2013/08/blog-post.html
หากคุณต้องการใส่ดัชนีต่างๆบนกราฟ ให้คลิกที่เมนู แทรก โดยเลือกดัชนีชี้วัด/ดัชนีการแกว่งตัว/ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (ดูที่กราฟด้านบน)
http://lenhune.blogspot.com/2013/08/blog-post.html
ตัว ชี้วัดนี้ถูกออกแบบมาให้หาเขตที่ซื้อมากเกินไป/ขายมากเกินไปที่สำคัญไปกว่า นั้นสำหรับนักเทรดบางท่านก็คือ ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ช่วยให้คุณสามารถหาเขตการแยกออกจากกัน(divergence) และการลู่เข้ามาหากัน(convergence) ซึ่งข้อดีคือ ทำให้เห็นการกลับตัวของราคา
http://lenhune.blogspot.com/2013/08/blog-post.html
ถ้า การวิเคราะห์ทางเทคนิค (technical analysis)ยุ่งยากสำหรับคุณ เราขอแนะนำให้คุณลองหาคอร์สเรียนเพิ่มเติมโดยเฉพาะ หรือใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ ออโต้ชาร์ติสต์ (Autochartist) ซึ่งจะช่วยให้คุณทำกำไรได้มากกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด  โปรแกรมดังกล่าวจะพิจารณาการสร้างรูปแบบและคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาใน อนาคตอย่างไม่มีอคติโดยอ้างอิงจากการวิเคราะห์ในเวลาจริง ในระยะยาวออโต้ชาร์ติสต์เป็นเครื่องมือที่พิสูจน์แล้วว่าช่วยให้นักเทรด สามารถทำกำไรได้

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental analysis)

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานได้รวมเอาผลพวงของปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง ธรรมชาติ และเทคโนโลยีที่มีต่อค่าเงินตรา พูดง่ายๆก็คือ การวิเคราะห์ดังกล่าวได้อ้างถึงข่าวหรือเหตุการณ์หนึ่งๆซึ่งมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน และยังรวมถึงข่าวจาก
หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เรื่องเด่นทางการเงิน เป็นต้น อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานไม่ได้หมายถึงแค่ข่าว แต่หมายถึงความสามารถในการคาดการณ์ถึงผลที่เกิดขึ้นจากข่าวเหล่านี้
ฮูเทรดส์ได้มีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเหล่านี้แก่คุณ โดยข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างสูงจะถูกแสดงบนปฎิทินเศรษฐกิจ(Economic Calendar) และแสดงใน feed ของแอพพลิเคชัน MetaTrader คุณ ควรมีความเข้าใจที่ชัดเจนว่าทำไมการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจึงมีผลต่อการ ประเมินราคาค่าเงิน และมีผลอย่างไร อย่างแรกเลยภาพรวมเกี่ยวกับตัวชี้นำเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งทางบริษัทอีเมล์ให้กับลูกค้าจะช่วยให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก ขึ้น

คุณสามารถทำเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ ปัจจัยพื้นฐานโดยการเรียนคอร์สเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเพิ่มเติม

การเปิดบัญชีซื้อขายครั้งแรก

หากคุณยังไม่มีบัญชีซื้อขาย สิ่งที่คุณต้องทำก็เพียงแค่ กรอกใบสมัคร บนเว็บไซด์ของ EXNESS
สำหรับนักเทรดบางท่าน ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนำมาซึ่งรายได้หลัก ในขณะที่บางท่านมองว่าเป็นการพนัน
การซื้อขายเงินตราต่างประเทศเปิดโอกาสให้คุณทำกำไรในขณะที่คุณนั่งทำงานอยู่ที่บ้าน คุณมีโอกาสทำกำไรได้อย่างไม่จำกัดซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับคุณ การเทรดในตลาดจริงจะทำให้คุณต้องตัดสินใจเร็ว บางทีคุณอาจจะชอบเดินทางสายกลางอย่างตลาดหุ้นมากกว่า หรือคุณอาจจะอยากเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือคุณรู้สึกว่าพร้อมแล้วที่จะ เปิดบัญชีจริง กับ EXNESS

 บทความที่น่าสนใจ

2 ความคิดเห็น:

  1. น่าสนใจค่ะ แต่ไม่เข้าจายยยย
    085-4826537

    ตอบลบ
  2. สนใจค่ะ เพราะทำงานอยู่บริษัทแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมา 3 ปีกว่า มาอ่านเจอกระทู้ในพันทิปเลยลองมาดู แต่ยังไม่เข้าใจการลงทุน การบริหาร การตัดสินใจต่างๆ และยังไม่เข้าใจระบบ แต่จะลองโหลดมาศึกษาค่ะ ขอบคุณที่แนะนำนะคะ

    ตอบลบ