วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ทำไมต้องลงทุนในตลาด Forex

พูดถึง Volume ทุกคนรู้ว่ามันคือ ตัวชี้วัด "ปริมาณการซื้อขาย" นั่น เอง แต่เทรดเดอร์ไม่มากนักในตลาด Forex ที่รู้จักการใช้ Volume Indicator อาจเป็นเพราะเขาคิดว่ามันไม่ได้บอกสัญญาณที่สำคัญ
 ยินดีต้อนรับเข้าสู่สังคมการเทรด Forex

Volume ในตลาด Forex

การใช้ประโยชน์จาก Volume ในตลาด Forex

พูดถึง Volume ทุกคนรู้ว่ามันคือ ตัวชี้วัด "ปริมาณการซื้อขาย" นั่น เอง แต่เทรดเดอร์ไม่มากนักในตลาด Forex ที่รู้จักการใช้ Volume Indicator อาจเป็นเพราะเขาคิดว่ามันไม่ได้บอกสัญญาณที่สำคัญอะไรก็เลยไม่เอามันออกมา ใช้ วันนี้เราจะมาคุยเรื่องของเจ้า Volume นี้กันว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง ถ้าคุณใช้เป็นและรู้ว่าจะใช้งานมันอย่างไรให้เกิดประโยชน์ในตลาด Forex เจ้า Volume นี้อาจทำให้พอร์ตคุณโตขึ้นก็ได้
แล้ว เราจะไปหาเจ้า Volume Indicator มาจากไหนล่ะ ? อันที่จริง MT 4 มี Volume เป็น Indicators พื้นฐานมาให้เราแล้ว แค่คุณคลิ๊กขวาที่ที่กราฟ แล้วกด "Ctrl+L" ก็มีมี Volume ขี้นมาที่กราฟของคุณ หรือถ้าอยากจะได้ Volume ที่แยกออกมาจากกราฟ คุณก็ทำได้โดยการ เข้าไปที่ Menu ด้านบน เลือก Insert > Indicators > Volume>  หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างตั้งค่าของ Volume ขึ้นมา ให้เราเข้าไปที่ Visualization แล้ว เลือกที่ช่อง Show in data window แค่นี้คุณก็จะได้ Volume ที่มี สองสี แยกออกมาจากหน้าต่างหลัก ดูง่าย อยากได้สีอะไร เส้นหนาบางแค่ไหนคุณก็ปรับแต่เอาได้ตามสบายเลยค่ะ
 เมื่อทำตามขั้นตอนแล้ว กราฟของเราจะเป็นดังภาพตัวอย่าง
Volume Indicator
ทำไมเทรดเดอร์ในตลาด Forex ถึงไม่ให้ความสำคัญกับ Volume Indicator ?
อัน ที่จริงแล้ว เจ้า Forex volume indicators นั้นไม่ได้แสดงปริมาณการซื้อขายจริง คือมันไม่ได้แสดงถึงจำนวนเงินเข้ามาในตลาดโดยตรง เพราะตลาด Forex  เป็น Over the counter market  ที่มีปริมาณการซื้อขายที่มหาศาล ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะติดตามปริมาณที่แท้จริงของปริมาณเงินที่เข้ามา นั่นคือเหตุผลที่ทำให้เทรดเดอร์หลายคนเชื่อว่า Forex Indicator volume ไม่แสดงการไหลของเงินจริงจึงไม่ใช้มัน

การอ่าน Volume สามารถ
  • ยืน ยันได้ถึงเทรนที่แข็งแรง หรือ เตือนเราว่าเมื่อไหร่ที่เทรนกำลังอ่อนแอ Volume ที่เพิ่มขึ้น จะบอกได้ว่าเทรนนั้นมีความแข็งแกร่ง และเมื่อ Volume ลดลง ก็เป็นสัญญาณเตือนว่า เทรนที่กำลังเป็นอยู่นั้น กำลังหมดแรงและอาจใกล้ถึงเวลาที่จะเปลี่ยนเทรนแล้ว
  • โวลุ่มที่สูง (พรวดพลาด) หลังจากที่โวลุ่มอ่อนค่าลงไป มักจะเป็นสัญญาณว่าเทรนกำลังจะเปลี่ยนไป
  • จุดที่น่าทำการซื้อขายที่สุด ให้สังเกตเมื่อมีปริมาณการซื้อขายสูงๆ ที่บริเวณแนวรับแนวต้านที่สำคัญ
  • ปริมาณการซื้อขายนี้ สามารช่วยตรวจสอบได้ถึงการ Breakout ของราคา ว่าจริงหรือหลอก

Volume

การอ่านค่า Volume Indicator ที่มากับ MT4
แท่ง สีเขียวแสดงถึงปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นมากกว่าแท่งก่อนหน้า และสีแดง แสดงถึงปริมาณการซื้อขายที่ลดลงมากกว่าแท่งก่อนหน้า อย่าเข้าใจผิดว่าสีเขียวแสดงถึงปริมาณการซื้อที่เยอะกว่า และสีแดงแสดงถึงปริมาณการขายที่เยอะกว่านะคะ

Volume Indicater
การอ่านสัญญาณจากปริมาณการซื้อขาย
ก่อน อื่นจงจำไว้ว่า ไม่ควรใช้ Volume เพื่อวัดปริมาณการซื้อขายใน Timeframe เล็กกว่า H1 เพราะสัญญาณที่ได้จะน้อยมากและมีสัญญาณรบกวนจากตลาดมากเกินไป และมันยังยากที่จะตรวจสอบได้ถึงสภาวะที่แท้จริงในช่วงระยะเวลาที่สั้นเกินไป ดังนั้น ควรใช้ Volume ใน TF ที่มีขนาดใหญ่ (H1, H4, D, W) เพื่อให้ Volume เก็บรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้น

Volume กับ Candle Stick
Volume บอกเราได้ถึงการต่อสู้เทรน แท่งVolume ที่ดีจะบอกเราได้ว่าใครชนะระหว่าง "หมี & กระทิง" อย่างไรก็ตาม  ถ้า Volume มีปริมาณมาก แต่ราคายังไม่ไปไหนเลย ก็เป็นสัญญาณ "อันตราย" เตือนได้ว่าตอนนี้ หมีกับกระทิงกำลังสู้กันอย่างหนัก เดี๋ยวพอได้ผู้ชนะ ราคาก็จะไปทางนั้น
  • แท่งราคายาว & Volume มาก = Trend  นั่นคือ ราคาจะยังคงเป็นเทรนเดิมต่อไป
  • แท่ง ราคายาว & Volume น้อย = Fake นั่นคือ สัญญาณหลอก ถ้าแท่งเป็นขาขึ้นก็ขึ้นไม่นาน ถ้าลง ก็ลงไม่นาน อาจเป็นสัญญาณ fail Break out  ถ้าเกิดบริเวณแนวรับแนวต้าน
  • แท่งราคาสั้น & Volume น้อย = Weak บอกได้ถึง เทรนนั้นกำลังอ่อนแอ ให้เตรียมตัวปิดเก็บกำไรได้
  • แท่ง ราคาสั้น & Volume มาก = Squat คือสัญญาณว่ามันกำลังเตรียมตัวพุ่งไปทางใดทางหนึ่ง หลังจากหมีกับกระทิงตีกันเสร็จ ใครชนะราคาก็จะพุ่งไปทางนั้น
Volume กับ Divergence
จาก ประสบการณ์ของตัวเองในตลาด Forex พบกว่ายังมีเทรดเดอร์บางกลุ่ม (รวมทั้งตัวเราด้วย) ได้ใช้ประโยชน์จากการดู Volume กับ Divergence ในการอ่านและคอนเฟิร์มรูปแบบ Chart Pattern ต่างๆด้วย โดยที่เราสามารถดู Divergence ได้จาก Oscillator ที่แตกต่างกัน ที่เรานิยมใช้กันมากก็มี RSI , Stochastic และ MACD  เราจะยืนยันว่า Divergence นั้นเป็นจริงได้จากการที่ Volume การซื้อขายลดลงในระหว่างการเกิด Divergence นั้น ถ้าคุณยังไม่รู้จักวิธีการดู Divergence ก็เข้าไปศึกษากันได้ที่

ตัวอย่างการยืนยัน Divergence ของ Volume
Volume VS Divergence
นี่ คือการอ่านค่า Volume Indicator แบบพื้นฐาน สำหรับ ตลาด Forex  อ่านง่ายๆ ไม่ซับซ้อนอย่างที่คิดใช่มั้ยล่ะคะ ลองเอาไปทดลองใช้กันดูนะคะ ไม่แน่ว่าคุณอาจจะชอบมันก็ได้

Fibonacci number ช่วยให้คุณรู้จักคลื่น Elliott wave ดีขึ้น

ผม พยายามลำดับความสำคัญว่า อะไรที่ควรจะเรียนรู้ก่อนในกลุ่มเครื่องมือจำนวนมากที่สามารถพาพวกเราเวียน หัวกันได้ ผมว่าน่าจะเอาสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุด ที่เข้าใจตรงกันมากที่สุด ก็คือ Fibonacci number นี่แหละ มาให้เราทำความเข้าใจกันก่อน ผมว่าเหมือนกับการป้อนข้อมูลใส่ให้พวกเราเข้าใจว่า สาวๆ หน้ากลมๆ สัดส่วน 30-24-36 ถึงจะสวยนะ ถ้าไม่ใช่ ก็สัก 32-26-36 ก็ยังดี (หุหุ เกี่ยวป่าว?)

fibonacci เป็นชื่อเรียกเลขอนุกรมมหัศจรรย์ ที่ตั้งขึ้นตามผู้คิดค้นคือ LEONARDS FIBONACCI ซึ่งสังเกตเห็นว่า ธรรมชาติมีสัดส่วนสัมพันธ์กับตัวเลขนี้ ต่อมาได้มีการประยุกต์นำมาใช้ในการวิเคราะห์ราคาหุ้น เพื่อที่จะใช้ค้นหาแนวโน้ม แนวต้าน แนวรับ สัญญาณซื้อและขาย โดยมีรูปแบบอยู่ 3 ลักษณะ คือ
- Fibonacci retracement หาแนวรับแนวต้านราคาในแนวระนาบ
- Fibonacci fan หาแนวรับในแนวเฉียง
- Fibonacci fan หาแนวรับในแนวดิ่ง หรือระยะเวลา
ส่วน ใหญ่ที่เห็นใช้กัน ก็เป็นอันแรกครับ ส่วนที่มาของตัวเลข ไม่ขอพูดมากครับ ตำราเยอะแยะ เอาเป็นว่า ผมแนะนำสิ่งที่นำไปใช้งานเลยละกัน ตัวเลขสัดส่วนที่นำมาใช้ ถูกคำนวณมาเป็น % หรือเทียบกับ 1.0 เป็นเลขดังนี้
23.6% 38.2% 50% 61.8% 78.6% 100% 127.2% 161.8% 261.8% 423.6%
โดยตัวเลขสีแดง คือตัวเลขที่ผมให้ความสำคัญเป็นพิเศษครับ
การ ใช้ Fibonacci สามารถใช้วัดได้ทั้งคลื่นย่อย และคลื่นหลักตามสะดวก และโดยมากเราวัดในคลื่นย่อย มักจะตรงกับคลื่นหลักอย่างน่าแปลกใจในบางครั้ง ซึ่งหากตรงกัน ผมมักให้ความสำคัญเพิ่มตรงจุดนั้นด้วย

การใช้ Fibonacci ใช้ตอนไหน และตรงไหนดี?
คง เป็นคำถามสำหรับมือใหม่ ที่บางคนลากแบบไม่รู้จะเริ่มตรงไหนดี ต้องย้อนกลับไปอ่านอีกทีข้างบน ที่บอกว่า ใช้หาแนวต้าน แนวรับ แนวต้าน ไงครับ แนวรับจะเกิด เราต้องหาหัวหาท้ายคลื่นให้ได้ก่อน ใช่มั๊ย? เราสนใจคลื่นชุดใหญ่หรือชุดย่อยล่ะ ถ้ายังไม่รู้ ต้องเริ่มจากคลื่นใหญ่ก่อนครับ

- แนะนำให้เริ่มจาก กราฟรายวัน เพราะจะเห็นคลื่นหลักชัดๆ

เมื่อ คลื่นเริ่มต้นขึ้น จนเริ่มตก เราก็จะได้จุดเริ่มต้นและปลายทางของคลื่นเป้าหมายครับ สิ่งที่เราจะวัดหา คือแนวรับเป็นอันดับแรก โดยมีจุดที่ผมให้ข้อคิดไว้ ตามประสบการณ์อันน้อยนิดของผมคือ

- หากคลื่นที่วัด ความแรงไม่มาก เช่นคลื่น 1 แนวรับจะอยู่ที่แถว 50% 61.8% และ 78.6% รวมถึง 100% 
- หากหลุดต่ำกว่า 100% ก็จะเป็นการ correction หรือปรับฐานเลย (คลื่น a-b-c) เป้าหมายแรกอยู่ที่ 127.2% และ 161.8% หรือกว่านั้น
- หากเป็นคลื่น 3 บางที ลงไม่ถึง 50% ด้วยซ้ำ

หาก แนวรับ รับได้อยู่แถว 61.8% และดีดกลับได้อย่างแข็งแกร่ง สิ่งที่เราจะมองหาคือแนวต้านแทน เราก็สามารถคาดได้ครับว่า คลื่นอาจจะย้อนสูงขึ้นกว่ายอดเดิม ไปที่ 127.2% 161.8% หรือ 261.8% หรือมากกว่านั้นได้ เราสามารถเอาความเข้าใจเรื่องอีเลียตเวฟมาประยุกต์คาดการณ์ร่วมกับการคะเน แนวต้านได้ครับ เช่น 
- หากเป็นคลื่น 3 อาจแรงไปถึง 261.8 หรือ 423.6% ได้ 
- ขณะที่คลื่น 5 อาจไม่ผ่าน 100% หรือแค่ 127.2% ก็เป็นได้ หากสัญญาณไม่แรงพอ

สั้นๆ ได้ใจความ ไม่เยิ้นเย้อนะครับ ที่เหลือ ลองไปหัดวัดดูคลื่นเก่าๆที่เคยผ่านไปแล้วดู ผมสรุปสั้นๆว่า
- มองภาพคลื่นใหญ่ หาจุดเริ่มต้นให้เจอ
- พิจารณาธรรมชาติของคลื่นลูกนั้น ว่าเป็นคลื่นไหน 1-2-3-4-5 หรือ a-b-c เพื่อคะเนว่า ตัวเลขแนวต้าน-แนวรับตรงไหน น่าจะสำคัญ สำหรับคลื่นลูกนั้น
- คลื่นใหญ่มองภาพไม่เห็นว่าจะจบแถวไหน ก็วัดคลื่นย่อยช่วย เช่น วัดคลื่น 3 หลักที่เห็นได้ชัดในรายวัน ในรายชั่วโมง เราก็มาวัดคลื่นย่อยของ 3 หลัก หากอยู่ในคลื่นย่อย 5 แล้ว เราก็คาดได้ว่า ราคาจะพุ่งไปเส้นต่อไปไม่ไหวก็เป็นได้ เป็นต้น

การ ดูว่าคลื่นไหนเป็นคลื่นไหน เราสามารถใช้ความรู้เรื่อง RSI มาช่วยกำกับได้ อย่างที่กล่าวไปในบทที่แล้วนะครับ เช่น หากคลื่นราคาใหม่ สูงขึ้น แต่ RSI ต่ำกว่าเดิม ก็มีโอกาสจะเป็นยอดคลื่น 5 ได้ เพราะ RSI จะ peak ในคลื่น 3 กับ b เป็นหลัก

Fibonacci fan กับ timezone คงไม่พูดถึงนะ ก็คล้ายกัน แต่ผมว่า ใช้วัดคลื่นหลักก็พอ โดยเฉพาะ fibo fan ผมใช้บ่อยตอนหาแนวรับ ใช้ร่วมกับ Fibonacci retracement ช่วยบอกแนวรับได้ดีมากๆ

บทต่อไปน่าจะเป็นการดู RSI, MACD นะ แต่ใครอ่านบทวิเคราะห์ของผมบ่อยๆคงได้เรียนรู้ไปเยอะแล้ว เพราะผมพูดถึงบ่อยมาก

เครื่องมือวัดพลังคลื่น 

มี ของอยู่ในมือแล้ว พวกเรามักมีปัญหาในการปล่อย หรือติดดอย เพราะไม่มีการเช็คสุขภาพ หรือพลังของคลื่น ว่าเหลือมากน้อยแค่ไหน สมควรจะเสี่ยงถือต่อไป หรือโยนให้คนอื่นถือต่อดี วันนี้มารู้จักกับเครื่องมือวัดพลังคลื่นทั้ง 3 ตัวที่ผมใช้ประจำครับ
Stochastic Oscillator เป็น ตัววัดแนวโน้มที่ให้ทิศทางเร็วกว่าเพื่อน แต่ก็นั่นแหละครับ หลอกเก่งกว่าเพื่อนเหมือนกัน เหมาะกับการให้ทิศทางระยะสั้นหรือตลาด sideway มากกว่า 
Stochastic Oscillator เป็นตัววัดแนวโน้มที่ให้ทิศทางเร็วกว่าเพื่อน แต่ก็นั่นแหละครับ หลอกเก่งกว่าเพื่อนเหมือนกัน เหมาะกับการให้ทิศทางระยะสั้นหรือตลาด sideway มากกว่า 
RSI (Relative Strength Index)เป็นเครื่องมือวัดพลังของคลื่น ที่ผมให้น้ำหนักค่อนข้างมาก ผมใช้ยอดคลื่นของมันชี้ตำแหน่งคลื่น 3 และคลื่น b 
MACD (Moving Average Convergence Divergence)เป็นเครื่องมืออีกชิ้นที่ช่วยในการตัดสินใจเรื่องการเปลี่ยนแนวโน้มของคลื่นได้ดีครับ 
การใช้งานเครื่องมือทั้ง 3 ชนิด อ่าน ตำราแล้วเหมือนจะใช้ต่างกัน แต่ผมมักจะมองภาพรวมทั้ง 3 ตัวด้วยกัน รวมถึงการนับขาตามทฤษฎีอีเลียตเวฟ เพื่อช่วยตัดสินใจเรื่องการเปลี่ยนแนวโน้ม หากใครอ่านตำรา ก็มักจะพุ่งเป้าไปที่สัญญาณ overbought/oversold เป็นหลัก แต่จริงๆแล้ว เรายังดูหลายอย่างที่ละเอียดลงไปได้อีก 
สิ่งที่เราต้องมองหาในเครื่องมือโดยรวม - Divergence/Convergence ตรงนี้อธิบายง่ายๆ คือความสัมพันธ์ระหว่างราคากับสัญญาณในเครื่องมือ มันต้องไปทางเดียวกัน เท่านั้นแหละ หากราคาขึ้นทำ high ใหม่ แล้วสัญญาณขึ้นตาม ก็ดีไป แต่หากไม่ตาม เราเรียกว่า เกิด divergence คือสัญญาณมันไม่เอาด้วย แบบนี้ ก็เตรียมถอยครับ ทางกลับกัน หากราคาลงทำ low ใหม่ และสัญญาณตามลงไป เราก็รอต่อไป แต่เมื่อไหร่ที่สัญญาณไม่ลงด้วย เราเรียกว่าเกิด convergence คือสัญญาณไม่เอาด้วย แต่เป็นเชิงบวกแทน แบบนี้ เตรียมกระโจนเข้าได้ - แนวต้านจากการลาก trend line เมื่อเกิดยอดคลื่น 2 ยอด เราสามารถลากเส้น trendline ให้เส้นสัญญาณได้ เช่นเดียวกับกราฟราคาครับ และหากสัญญาณขึ้นมาชน trendline ที่เราตีไว้ ก็มีแนวโน้มว่า จะติดเส้นนี้ได้ ทางกลับกัน หากหลุดเส้น trendline นี้ไปได้ ก็อาจพุ่งไปต่อได้เลยเช่นกันครับ หากมองไม่เห็น สมมุติว่า เราดูใน chart รายวัน เราอาจขยับมาดูราย 4 ชั่วโมง หรือต่ำลงมาเป็นรายชั่วโมง เพื่อหาสิ่งที่เราต้องการดู 
สัญญาณในกราฟ รายชั่วโมง ราย 4 ชั่วโมง รายวัน อันไหนสำคัญกว่ากัน? บาง ครั้ง สัญญาณระดับต่างๆมันขัดแย้งกัน มือใหม่จะงง และตัดสินใจไม่ถูก ไม่รู้จะเชื่ออันไหนดี ผมอธิบายง่ายๆว่า รายวันก็เหมือนเราดูคลื่นหลัก ส่วนราย 4 ชั่วโมง หรือ รายชั่วโมง เราก็เท่ากับกำลังมองคลื่นย่อยในคลื่นหลัก คลื่นหลัก สัญญาณอาจบอกว่า กำลัง bull มาก อยู่ในคลื่น 3 แต่รายชั่วโมง สัญญาณอาจเป็น bear เพราะกำลังปรับฐานอยู่ในคลื่น 2 ย่อยของ 3 ก็เป็นได้ 
การใช้ MACD ดูการเปลี่ยนแนวโน้ม MACD ถูกยกย่องให้เป็นราชาของเครื่องมือวัด เพราะมีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง วิธีการดู MACD ก็ดูว่า - เมื่อไหร่ที่ เส้นสัญญาณ (เส้นสีแดง) อยู่เหนือแถบ MACD จะ bearish หรือกลับเป็นขาลง - เมื่อไหร่ที่ เส้นสัญญาณ (เส้นสีแดง) อยู่ใต้แถบ MACD จะ bullish หรือกลับเป็นขาขึ้น นอก จากนั้น ก็เป็นการมองหา divergence/convergence และ การใช้ trendline วัดความสูงเพื่อหาแนวต้านแนวรับแล้ว อย่างที่บอกไป แต่ยังมีอีกจุดที่น่าสนใจมาก คือมันสามารถบอกพลังงานสะสมได้ครับ เมื่อใดที่เส้นสัญญาณ (เส้นสีแดง) กับ MACD ตีคู่กันใกล้ๆไปสักระยะ จะเกิดพลังงานสะสม และมักมีไม้เขียว หรือไม้แดงยาวๆตามมาให้เห็นบ่อยๆครับ ลองไปสังเกตดู MACD ที่เกิดขึ้นมาในอดีตดูครับ ให้สัญญาณก่อนเกิดไม้เขียวไม้แดงยาวๆตามมา ชนิดทำกำไรได้สบาย
ถึง บทนี้ ความฮึกเหิมคงเริ่มเกิดในตัวแล้วใช่มั๊ยละครับ แต่อยากจะบอกว่า พอไปดูคลื่นจริงๆ อาจจะยังคงเมากันอยู่ครับ คงต้องอาศัยประสบการณ์ที่ต้องค่อยๆสะสมแล้ว อันนี้ สอนกันยาก ได้แต่บอกว่า ค่อยๆดูไปครับ ทุกวันนี้ ผมก็ยังสะสมอยู่เหมือนกัน บทต่อไป คงเป็นเรื่องของ เครื่องมือปลีกย่อย อย่าง Moving Average, Trendline, ฯลฯ แต่ผมว่า ศึกษาเองก็ไม่น่ายากแล้วนา 

 

 บทความที่น่าสนใจ

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น